ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครมีการก่อสร้างเรื่องคมนาคมมากมาย และยังมีรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมโยงคนทั้งประเทศ ซึ่งการก่อสร้างเหล่านี้จะใช้ปริมาณเหล็กที่เยอะตามไปด้วย โดยเหล็กเหล่านี้ก็จะต้องได้รับมาตรฐาน มอก. โดยบริษัท มิลล์คอน สตีล จากการก่อตั้งของคุณ สิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล ก็เป็นบริษัทที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าวเช่นกัน
ความแตกต่างของรถไฟแต่ละชนิดว่าทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร
รถไฟความเร็วสูง
จุดประสงค์หลักของรถไฟความเร็วสูงคือการเชื่อมต่อการขนส่งในระดับจังหวัด โดยเน้นความเร็วในการเดินทางเป็นหลัก จะเร็วตั้งแต่ระดับ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีระยะห่างจากสถานีคือ 50 ถึง 150 กิโลเมตรต่อสถานี
รถไฟทางไกล
จุดประสงค์ของรถไฟทางไกลคือการเชื่อมการขนส่งระหว่างจังหวัด ไม่เน้นการขนคนจำนวนมาก ด้วยระยะทางที่ไกล ทำให้ระยะห่างต่อสถานีอยู่ที่ 5-20 กิโมลเมตร
รถไฟชานเมือง
รถไฟชานเมืองคือเป็นจุดเชื่อมของขนส่งจากชานเมืองเข้าสู่ตัวเมืองทำให้แต่ละสถานีมีระยะห่างประมาณ 3-5 กิโลเมตร และความเร็วของรถไฟจะอยู่ที่ประมาณ 80 ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้การขนส่งไปอย่างรวดเร็ว และระยะห่างอยู่ที่ 10-60 นาที
รถไฟในเมือง
จุดประสงค์เพื่อกระจายคนในแหล่งธุรกิจให้สามารถเดินทางในะระยะสั้น ส่วนมากจะมีรอบระยะห่างต่อขบวนประมาณ 1-5 นาที และระยะห่างจะไม่เกิน 2 กิโลเมตรต่อสถานี ตัวอย่างรถไฟในเมืองคือ MRT และ BTS