แนวคิดการสร้าง เตาหลอมเหล็กไฟฟ้าของมิลล์คอน สตีล เริ่มมาจากผู้ก่อตั้งอย่างคุณ สิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูลได้นำเสนอแนวคิดนี้ขึ้นมาให้กับทาง BOI จนอนุมัติวงเงินสนับสนุนโครงการดังกล่าว จำนวน 5 พันล้านบาท โดยการก่อสร้างเตาหลอมไฟฟ้าถือว่าเป็นโครงการใหญ่สำหรับคุณสิทธิชัย เพราะแค่มูลค่าการลงทุนก็มีมากกว่าบริษัทมิลล์คอน ทั้งบริษัท ทำให้เขาต้องทำการบ้านอย่างหนัก โดยเริ่มจากการไปดูเตาหลอมเหล็กไฟฟ้าก่อนที่โรงงานต้นตอ
ความจริงแล้วมีประเทศที่มีศักยภาพทำโรงเตาหลอมเหล็กไฟฟ้าอยู่มากมายแต่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ
มีประเทศที่สามารถทำเตาหลอมเหล็กอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นยุโรป อเมริกา หรือในเอเชียเอง แต่เพราะคุณสิทธิชัยมีงานที่รัดตัวมาก เลยให้คุณบอม หรือคุณ ธิติพงศ์ ตั้งพูนผลวิวัฒน์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนและเพื่อนไปดูงานที่ต่างประเทศแทน เพื่อเข้าชมเครื่องจักรและหาแนวทางในการสร้างโรงงานของมิลล์คอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยในช่วงปี 2008 เป็นช่วงโอลิมปิกเกมส์ที่ปักกิ่ง และมีราคาเหล็กที่ขยับตัวขึ้นสูงมาก ถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเหล็ก ในเวลานั้นขายสินค้าเหล็กก็มีแต่กำไร ทุกคนต่างพากันขยายการผลิต ดึงดูดให้คนเข้ามาสู่อุตสาหกรรมเหล็กกันมากขึ้น
คุณบอมได้เล่าเรื่องที่กลับมาจากการดูงานที่ต่างประเทศด้วยสีหน้าที่ไม่สู้ดีนัก โดยคุณบอมได้เล่าให้ฟังว่าการไปดูงานเหมือนกับไปสัมภาษณ์งานไม่มีผิด เพราะทางฝรั่งต่างยิงคำถามว่าอายุเท่าไหร่ มีเงินจริงๆ เหรอ แล้วเรื่องการจะทำเตาหลอมนั้นต้องใช้เวลาถึง 3 ปี และต้องใช้ทุนกว่า 7-8 พันล้านบาท ซึ่งผิดแผนตั้งแต่เรื่องเงินทุนและระยะเวลาในการผลิต โดยพยายามคุยกับทางฝรั่งแต่เขาก็ไม่สนใจจนทางคุณสิทธิชัยต้องรอโอกาส จนถึงกลางปี 2008 เกิดภาวะวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ โดยปัญหาทางการเงินไม่ได้มีแต่อเมริกา แต่แพร่กระจายในยุโรปแม้กระทั่งในเอเชีย เกิดสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ ราคาเหล็กก็ดิ่งลง
แม้ว่าราคาเหล็กจะดิ่งลงมา แต่กลับกลายเป็นผลดีในเรื่องการผลิตโรงงานหลอมเหล็กไฟฟ้า
จาดเดิมที่ทางฝรั่งไม่เห็นความสำคัญต้องตามกลับมาง้อโทรศัพท์ถามว่ายังสนใจโปรเจกต์อยู่ไหม ถ้าหากสนใจจะพาดูโรงงานและพาไปคุยกับธนาคารให้ อีกทั้งยังลดราคาเป็นพิเศษ แต่เพราะมีอีกหลายเจ้าที่ยังยื่นขอเสนอมาให้กลายเป็นฝ่ายขอพิจารณาบ้าง ทำให้รู้ว่าการทำการลงทุนในช่วงเวลาที่ถูกต้องนั้นได้เปรียบ เพียงแต่ต้องอดทนรอในจังหวะที่ดีและมีการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอด ทำให้สุดท้ายแล้วคุณสิทธิชัยได้แบบแปลนโรงงานไฟฟ้าในที่สุด จากการบินดูงานตลอดเวลา